วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556



                           วันที่ 28  กันยายน   2556                                      ครั้งที่ 16

                                         กิจกรรมการเรียนการสอน
                                                    -อาจารย์ใหพูด เรื่อง อาจารย์ให้นักศึกษานำสื่อไปส่งที่ละคน ส่งทั้งการประดิษฐ์เข้ามุมและ การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์

           




                             วันที่    21  กันยายน   2556                     ครั้งที่     15

                                               กิจกรรมการเรียนการสอน 
                                                               - ต่อจากการเรียนการสอนสัปดาห์ที่แล้วเมื่อสัปดาห์ที่แล้วอาจารย์ให้เลือกแผนที่อยากทำมา1แผน 
- แผนการสอนที่เลือก คือ การทำแกงจืด
- อาจารย์ให้เพื่อนกลุ่มที่ทำแกงจืดเป็นผู้สอนวิธีการทำ  แล้วก็ให้สอนเพื่อนๆในห้อง










สรุปการทำ Cooking    ได้รู้ขั้นตอนการทำ ส่วนผสมของอาหาร สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้


                   วันที่  14    กันยายน       2556                                    ครั้งที่  14

                            กิจกรรมการเรียนการสอน
                                              -อาจารย์เบียร์เบียร์แจกกระดาษชาร์จให้นักศึกษา กลุ่มละ 4 แผ่นเขียนการทำ Cooking 
แผ่นที่1 การทำ Cooking 
แผ่นที่2 ทำผัดผักรวมมิตรแสนอร่อย
แผ่นที่3 วิธีการทำผัดผัก
แผ่นที่4 เขียนแผนการสอน


                       






                           วันที่   7 กันยายน  2556                          ครั้งที่่     13

                                        กิจกรรมการเรียนการสอน
                                                     - อาจารย์ให้ออกมานำเสนอสื่อวิทยาศาสาตร์เข้ามุมเพื่อนๆออกมานำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์ดังต่อไปนี้
กลุ่มที่ 1   ภาพนูนสองมิติ
กลุ่มที่ 2   นิทานเคลื่อนที่แม่เหล็ก
กลุ่มที่ 3   กล่องที่น่าค้นหา
กลุ่มที่4   รถลงหลุม  ( กลุ่มของข้าพเจ้าเอง)
กลุ่มที่5   ลิงห้อยโหน
กลุ่มที่6   ซูมู่ลงลงหลุม
กลุ่มที่7  กระดาษเปลี่ยนสี
กลุ่มที่8  วงจรชีวิตสัตว์ 
กลุ่มที่9  กล่องหรรษา
  
สรุปจากการเรียนการสอน สื่อเข่้ามุมต้องเป็นสื่อที่แข็งแรงเด็กสามารถเล่นได้



                                                      


                          วันที่   30    กันยายน 2556                                      ครั้งที่ 12

                               กิจกรรมการเรียนการสอน

 นำเสนอสื่อเข้ามุมของแต่ละกลุ่ม พร้อมทั้งส่งเปเปอร์ให้อาจารย์ดู ว่าสื่อผ่านหรือไม่ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะต้องมีหลักการให้สอดคล้องกับสื่อของตนเอง อาจาร์ยจะดูระหว่างนำเสนอว่าหลักการสอดคล้องกับสื่อมั้ย ถูกต้องหรือเปล่า เหมาะสมกับเด็กมั้ย อาจาร์ยจะเป็นผู้ให้คำแนะนำแก่สื่อที่นำเสนอ พร้อมทั้งบอกตรงไหนดีหรือควรปรับปรุงใหม่ และการนำไปใช้

   สื่อของกลุ่มดิฉันสื่อรถลุมหลุม
                                                           


                       วันที่  23  กันยายน 2556                                    ครั้งที่   11

                                                 กิจกรรมการเรียนการสอน
                                                           - อาจารย์ให้ออกมานำเสนอการทดลองต่อจากเพื่อนออกนำเสนอการทดลอง


         รายชื่อการทดลอง
1.ลูกโป่งไฟฟ้าสถิต
2.แรงตึงผิว
3.ขวดเป่าลูกโป่ง
4.เป่าฟองสบู่
5.ใข่จมใข่ลอย
6.จดหมาย
7.โปร่งแสงทึบแสง
8.ลาวาในขวด
9.ดูดน้ำไม่ขึ้น
10.จดหมายล่องหน
11.ขวดเป่าลูกโป่ง
12.ไฟดับ
13.ลูกโป่งติดแก้ว
14.ฟีลม์สีรุ้ง
15.เปลวไฟลอยนิ่ง
16. ทีเด็ดน้ำยาล้างจาน

สิ่งที่ได้จากการเรียน           

              ขั้นการสังเกต + ขั้นการตั้งสมุติฐาน+ ขั้นการวบรวม+ ขี้นการสรุป 







                            วันที่   16  กันยายน   2556                               ครั้งที่   10

                                             กิจกรรมการเรียนการสอน
                                                    - อาจารย์ให้นำเสนอการทดลองโดยแบ่งกลุ่มละ 3 คน
กลุ่มของ ดิฉันมีสาาชิกดังนี้ 1 นางสาว  สุณิษา รุ่งเรือง  2. นางสาว สุกานดา ชูสนิท
 3. นางสาวนิภาพร หมื่นยุติ    การทดลองเรื่อง   กาวอวกาศ

                  การทดลอง กาวอวกาศ
    วัสดุ/อุปกรณ์
1.แก้วกระดาษ       2.ลูกโป่ง
3.จานแบน
4.น้ำเปล่า
    วิธีการทดลอง
                                                                       1.เทน้ำใส่จานแบน



                                                                           2.นำแก้วกระดาษไปจุ่มน้ำ ให้ปากแก้วเปียก
                                                                                      


                                                     3.เป่าลูกโป่งให้มีขนาดเท่าลูกเปตอง จากนั้นนำแก้วกระดาษที่ปากแก้วปากน้ำมาให้กดปากแก้วติดกับลูกโป่งที่เป่าไว้     
                                                            

                                                             
                                                                         5      .ปล่อยมือจากแก้วกระดาษ
                                                                 

       
                                                                   6.  ลูกโป่งติดกับแก้ว


                        หลักการ
เมื่อเรากดแก้วติดกับลูกโป่งในตอนแรก จะทำให้ส่วนโค้งของผิวลูกโป่งอยู่ลึกเข้าไปในปากแก้วพอเราเป่าลมเข้าไปเรื่อยๆจะทำให้ลูกโป่งขยายตัวขึ้นความโค้งของผิวจะลดลง เนื้อที่ภายในแก้วจะเพิ่มขึ้นแต่ปริมาณของอากาศมีเท่าเดิมจึงทำให้ความดันในแก้วลดลงน้อยกว่าความดันของอากาศภายนอกเกิดภาวะที่เรียกว่า สุญญากาศบางส่วน ความดันอากาศภายนอกจึงดันแก้วให้ติดกับผิวลูกโป่งนั้นเอง
  
                                                                        
                      




                       วันที่  9   กันยายน    2556                                    ครั้งที่    9

                          กิจกรรมการเรียนการสอน
                                                               -อาจารย์ให้ออกมานำเสนองานต่อจากคราวที่แล้วนำเสนองานประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์เพื่อนๆนำเสนอ
1.ถ้วยกระโดด
2.ป๋องแป๋ง
3.รถพลังงานลม
4.ภาพจากแม่เหล็ก
5.กล้องสามมิติ
6.ลูกโปร่งเฮลิคอปเตอร์
7.กล่องมหัศจรรย์
8.กล้องสลับลาย
9.จรวดลูกโปร่ง
10.เหรียญลวงตา
11.เจาะลูกโปร่งไม่แตก
12.เรือยาง
13ตุ๊กตาเงา
           สรุป  ของเล่นวิทยาศาสตร์ต้องมีความแข็งแรงเป็นของเล่นที่สอนเด็กให้เกิอการเรียนรู้ได้สามารถบูรณาการเข้ากับหน่วยต่างๆได้  เด็กสามรถทำเองได้





                             วันที่    2      กันยายน  2556                            ครั้งที่ 8

                                กิจกรรมการเรียนการสอน
                                                                - อาจารย์ให้ออกมานำเสนอสื่อประดิษฐ์วิทยาสตร์เพื่อนนำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์ของเล่นจั๊กจั่น


           วัสดุ / อุปกรณ์
1กล่องฟิมล์สีดำ
2.ยางสน   3.เอ็น  4.กาว    5.กรรไกร
6.กระดาษสี  7.ตะเกียบ 8. ไม้จิ้มฟัน
               ขั้นตอนการประดิษฐ์

               ขั้นตอนการประดิษฐ์



                                                   1  เคี่ยวยางสนให้เหลว 

                                            

 

1  เคี่ยวยางสนให้เหลว

                                          2  นำแท่งไม้ไผ่ชุบที่ปลายไม้ให้ยางสนเคลือบที่ปลายไม้













                                                     3.นำกระดาษสีมาติดกล่องฟิล์มแล้วทากาว
                                                 

                                                   

                                                      4. เจาะรูตรงกลางหลังกาวแห้งแล้ว
                                                       

                                                   .  
                                             5. นำก้านไม้มาผูกติดกับเส้นเอ็นให้ก้านไม้อยู่ข้างในกล่องฟิมล์
                                                    



                                
                                          6. นำเส้นเอ็นมาผูกที่ปลายแท่งไม้ไผ่ด้านที่เคลือบยางสนไว้ตกแต่งให้สวยงาม
                                                



                 

                 4.  เจาะรูตรงกลางหลังกาวแห้งแล้ว






            Description: http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/309/822/original_jaja_07.gif?1352674385
           6.นำเส้นเอ็นมาผูกที่ปลายแท่งไม้ไผ่ด้านที่เคลือบยางสนไว้
           




                 หลัการและเหตุผล   จักจั่นเกิดจากแรงเหวี่ยงจะเกิดเสียงทำให้ยางสนกับเชือกเอ็นเกิดเสียงขณะหมุน









                       วันที่  29  เดือน กรกฎาคม 2556                                     ครั้งที่ 7

                           กิจกรรมการเรียนการสอน
                                                      - เป็นการสอบกลางภาคเรียนที่ 1/ 2556



วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556



                        วันที่  22   กรกฎาคม    2556                           ครั้งที่   6 

                            กิจกกรมการเรียนการสอน
                       - เป็นวันอาสาฬหบูชาขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ นับเป็นวันที่สำคัญในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาหรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้ เป็นครั้งแรกแก่เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีปสมัยโบราณซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย ด้วยพระพุทธองค์ทรงเปรียบดังผู้ทรงเป็นธรรมราชา ก็ทรงบันลือธรรมเภรียังล้อแห่งธรรมให้หมุนรุดหน้า เริ่มต้นแผ่ขยายอาณาจักรแห่งธรรม นำความร่มเย็นและความสงบสุขมาให้แก่หมู่ประชา ดังนั้น ธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรกจึงได้ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม หรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยายธรรมจักร กล่าวคือดินแดนแห่งธรรม
   เมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้วนั้นชมพูทวีปในสมัยโบราณ กำลังย่างเข้าสู่ยุคใหม่แห่งความเจริญก้าวหน้า รุ่งเรืองเฟื่องฟูทุกด้านและมีคนหลายประเภททั้งชนผู้มั่งคั่งร่ำรวย นักบวชที่พัฒนาความเชื่อและ ข้อปฏิบัติทางศาสนา เพื่อให้ผู้ร่ำรวยได้ประกอบพิธกรรมแก่ตนเต็มที่ ผู้เบื่อหน่ายชีวิตที่วนเวียน ในอำนาจและโภคสมบัติที่ออกบวช หรือบางพวกก็แสวงหาคำตอบที่เป็นทางรอกพ้นด้วยการคิดปรัชญาต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องที่เหลือวิสัยและไม่อาจพิสูจน์ได้บ้าง พระพุทธเจ้าจึงทรงอุบัติในสภาพเช่นนี้ และดำเนินชีพเช่นนี้ด้วยแต่เมื่อทรงพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นขาดแก่นสาน ไม่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง แก่ตนเองและผู้อื่น จึงทรงคิดหาวิธีแก้ไขด้วยการทดลองต่าง ๆ โดยละทิ้งราชสมบัติ และอิสริยศแล้วออกผนวช บำเพ็ญตนนานถึง ๖ ปี ก็ไม่อาจพบทางแก้ได้ ต่อมาจึงได้ทางค้นพบ มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เมื่อทรงปฏิบัติตามมรรคานี้ก็ได้ค้นพบสัจธรรมที่นำคุณค่า แท้จริงมาสู่ชีวิต อันเรียกว่า อริยสัจ ๔ ประการ ในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๔๔ ปี ที่เรียกว่า การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จากนั้นทรงงานประกาศศาสนาโดยทรงดำริหาทางที่ได้ผลดีและรวดเร็ว คือ เริ่มสอนแก่ผู้มีพื้นฐานภูมิปัญญาดีที่รู้แจ้งคำสอนได้อย่างรวดเร็วและสามารถนำไปชี้แจงอธิบาย ให้ผู้อื่นเข้ามาได้อย่างกว้างขวาง จึงมุ่งไปพบนักบวช ๕ รูป หรือเบญจวัคคีย์ และได้แสดงธรรม เทศนาเป็นครั้งแรกในวันเพ็ญ เดือน ๘


         ใ จ ค ว า ม สำ คั ญ ข อ ง ป ฐ ม เ ท ศ น า

ในการแสดงแสดงปฐมเทศนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักธรรมสำคัญ ๒ ประการคือ
ก. มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ๒ อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ
   ๑. การหมกหมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่า เป็นการหลงเพลิดเพลินหมกหมุ่นในกามสุข หรือ กามสุขัลลิกานุโยค

   ๒. การสร้างความลำบากแก่ตนดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น การดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

ดังนั้นเพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ ๘ ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
     ๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
     ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
     ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
     ๔. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต
     ๕. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
     ๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
     ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
     ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน

ข. อริยสัจ ๔ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่
   ๑. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด

   ๒. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ

   ๓. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา
   ๔. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห้งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ประการดังกล่าวข้างต้น
    





                               วันที่ 15    กรกฎาคม    2556                          ครั้งที่ 5

                             กิจกรรมการเรียนการสอน
                                                          -อาจารย์ให้นำสื่อประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ที่เด็กสามารถทำได้เองออกมานำเสนสื่อ
สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึงวัสดุที่เด็กนำมาเล่นแล้วได้รับความสุข ได้ผ่อนคลาย ได้เรียนรู้ เป็นตัวกลางที่ทำให้เด็กเกิดความรู้จากการได้สัมผัส ได้ลงมือปฏิบัติช่วยให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
สื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดเรื่องราวสาระความรู้จากครูสู่เด็ก
เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กเข้าใจเรื่องยากๆด้วยความง่ายดาย
เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กเกิดการค้นพบความรู้ด้วยตนเอง
สาเหตุที่ครูต้องใช้สื่อการสอน
•1. ช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่เป็นจริง
•2. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนถึงสิ่งที่มีปัญหา เกี่ยวกับขนาด กาลเวลา และระยะทาง
•3. ช่วยเร้าและกระตุ้นความสนใจ ทัศนคติที่ดีของผู้เรียน ช่วยให้เรียนได้ง่าย รวดเร็ว และเพลิดเพลิน
•4. ช่วยแสดงกรรมวิธีต่างๆ ซึ่งไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ด้วยพูด
•5. สร้างโอกาสให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
•6. ช่วยให้เรียนได้มากขึ้นในเวลาที่น้อยลง•7. ช่วยให้มีความทรงจำต่อสิ่งที่เรียนได้นาน และนำไปใช้ได้ดีกว่า 
 เพื่อนออกมานำเสนอสื่อ
        -แก้วกระโดดได้ 
        - รถพลังงานลม
        - ป๋องแป๋ง
        -กล้องสมมิติ  
        - ภาพสามมิติ
        -ร่มชูชีพ
สรุปจากการเรียน  สื่อวิทยาศาสตร์ต้องเป็นสื่อที่แข็งแรง เด็กสามารถทำได้และต้องเชื่อมโยงกับหน่วยที่เราจะสอน


                                 วันที่     8   กรกฎาคม   2556                                          ครั้งที่4
                
                               กิจกรรมการเรียนการสอน
                                                              -อาจารย์ให้ดูวีดีโอ  เรื่อง ลูกโปร่งรับน้ำหนัก isci  ฉลาดแบบยกกำลังสอง  :  ลูกโป่งรับน้ำหนัก"  สาเหตุที่ลูกโป่งรับน้ำหนักได้ทีละ
มากก็เพราะ  ลูกโป่งมีการกระจายน้ำหนักไปยังส่วนต่างๆภายในลูกโป่ง  จึงทำให้ลูกโป่งที่รับ
 น้ำหนักมากๆไม่แตก 

วีดีโอที่2   เรื่องเมล็ดจะงอกไหม เมล็ด คือ ออวุลที่เจริญเติบโตเต็มที่ประกอบด้วยเอ็มบริโอที่อยู่ภายในเปลือกหุ้มเมล็ดอาจมีเนื้อเยื่อสะสมอาหารอยู่ภายในเมล็ดด้วย
                เมล็ดประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
                1. เปลือกหุ้มเมล็ด เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดของเมล็ดเจริญเติบโตมาจากเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของออวุล ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายต่างๆ ให้แก่เอ็มบริโอที่อยู่ภายในเมล็ด เช่น ป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์เข้าไปในเมล็ดซึ่งจะทำให้เมล็ดไม่สามารถงอกได้ นอกจากนั้นเปลือกหุ้มเมล็ดยังมีสารพวกไขเคลือบอยู่ทำให้ลดการสูญเสียน้ำได้ด้วย
                2. เอ็มบริโอ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่จะเจริญไปเป็นต้นพืช ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
  •  ใบเลี้ยง (cotyledon) เมล็ดพืชใบเลี้ยงคู่มีใบเลี้ยง 2 ใบ ส่วนเมล็ดพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีใบเลี้ยงเพียง 1 ใบ ใบเลี้ยงของพืชบางชนิดทำหน้าที่สะสมอาหาร เช่น ถั่วชนิดต่างๆ มะขาม บัว เป็นต้น
  • เอพิคอทิล (epicotyl) เป็นส่วนของเอ็มบริโอที่อยู่เหนือตำแหน่งที่ติดกับใบเลี้ยงส่วนนี้จะเจริญเติบโตไปเป็นลำต้น ใบและดอกของพืช
  • ไฮโพคอทิล (hypocotyl) เป็นส่วนเอ็มบริโอที่อยู่ใต้ตำแหน่งที่ติดกับใบเลี้ยงในระหว่างการงอกของเมล็ดพืช ใบเลี้ยงคู่หลายชนิดไฮโพคอทิล จะเจริญดึงใบเลี้ยงให้ขึ้นเหนือดิน 
  • แรดิเคิล (radicle) เป็นส่วนล่างสุดของเอ็มบริโออยู่ต่อจากไฮโพคอทิลลงมา ต่อไปจะเจริญเป็นราก
            3. เอนโดสเปิร์ม เป็นเนื้อเยื่อที่มีอาหารสะสมไว้สำหรับการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอ อาหารส่วนใหญ่่เป็นประเภทแป้ง โปรตีน และไขมัน เมล็ดละหุ่ง เมล็ดละมุด มีเอนโดสเปิร์มหนามาก ส่วนใบเลี้ยงมีลักษณะแบนบางมี 2 ใบ สำหรับพืชพวกข้าว หญ้า จะมีใบเลี้ยงเพียงใบเดียว อาหารสะสมอยู่ในเอนโดสเปิร์ม เมล็ดพืชบางชนิดไม่มีเอนโดสเปิร์มเนื่องจากสะสมอาหารไว้ที่ใบเลี้ยง
การงอกของเมล็ด
            เมล็ดพืชต่างชนิดกันจะมีส่วนประกอบบางอย่างที่เหมือนกัน และบางอย่างแตกต่างกัน การงอกของเมล็ดถั่วเหลือง ไฮโพคอทิลจะยืดตัวชูใบเลี้ยงให้โผล่ขึ้นมาเหนือระดับผิวดิน การงอกแบบนี้จะพบในพืชบางชนิด เช่น พริก  มะขาม เป็นต้น การงอกของเมล็ดถั่วลันเตา ส่วนของไฮโพคอทิลไม่ยืดตัวทำให้ใบเลี้ยงยังอยู่ใต้ดินเช่นเดียวกับการงอกของเมล็ดพืชใบเลี้ยงเดี่ยวทั่วๆไป หรือใบเลี้ยงคู่บางชนิด เช่น ขนุน มะขามเทศ ส่วนของข้าวโพดงอกแล้วใบเลี้ยงไม่โผล่เหนือดิน  มีแต่ส่วนของใบแท้ที่โผล่ขึ้นมาเหนือดิน
ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด
                พืชเศรษฐกิจหลายชนิดยังคงต้องขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ดังนั้นในการเพาะเมล็ดจึงจำเป็นจะต้องศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดพืช
                 โดยปกติเมล็ดพืชที่แก่เต็มที่จะมีความชื้นต่ำประมาณร้อยละ 10-15 มีอัตราการหายใจต่ำและมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีภายในเมล็ดน้อยมาก ดังนั้นเมล็ดจำเป็นต้องได้รับปัจจัยบางอย่างที่เหมาะสมจึงจะงอกได้้ดังต่อไปนี้ น้ำหรือความชื้น เมื่อเมล็ดได้รับน้ำ เปลือกหุ้มเมล็ดจะอ่อนตัวลง ทำให้น้ำและออกซิเจนผ่านเข้าไปในเมล็ดได้มากขึ้น เมล็ดจะดูดน้ำเข้าไปทำให้เมล็ดพองตัวขยายขนาด และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น น้ำจะเป็นตัวกระตุ้นปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่างๆ ภายในเมล็ดมีการกระตุ้นการสร้างเอนไซม์เพื่อย่อยสลายสารอาหารที่สะสมในเมล็ดเอนไซม์ที่เกิดขึ้นในเมล็ด เช่น อะไมเลส จะย่อยแป้งให้เป็นมอลโทส โปรตีเอส จะย่อยโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโนทั้งมอลโทสและกรดอะมิโนละลายน้ำได้ และแพร่เข้าไปในเอ็มบริโอเพื่อใช้ในการหายใจและการเจริญเติบโต นอกจากนี้น้ำยังเป็นตัวทำละลายสารอื่นๆที่สะสมในเมล็ดและช่วยในการลำเลียงสารอาหารไปใช้ตัวอ่อนใช้ในการงอก
                ออกซิเจน เมล็ดขณะงอกมีอัตราการหายใจสูง ต้องการออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการสลาย
ของเซลล์ แต่มีพืชบางชนิด เช่น พืชน้ำสามารถงอกได้ดีในออกซิเจนต่ำ ความชื้นสูง เพราะสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจนได้ แต่เมล็ดหลายชนิดจะไม่งอกเลย ถ้าออกซิเจนไม่เพียงพอแม้ความชื้นจะสูง เช่น เมล็ดวัชพืชหลายชนิดที่ฝังอยู่ในดินลึกๆเมื่อไถพรวนดินให้เมล็ดขึ้นมาอยู่ใกล้ผิวดินจึงจะงอกได้
                อุณหภูมิ เมล็ดพืชแต่ละชนิดต้องการอุณหภูมิที่เหมาะสมในการงอกแตกต่างกัน เช่น เมล็ดพืชเขตหนาวจะงอกได้ดีในช่วงอุณหภูมิ 10-20 องศาเซลเซียส เช่น หอมหัวใหญ่และผักกาดหัวจะงอกได้ดีที่อุณหภูมิ  20 องศาเซลเซียส แต่ก็มีบางชนิดต้องการอุณหภูมิในช่วงกลางวันและกลางคืนที่ต่างกัน หรือให้อุณหภูมิต่ำสลับกับอุณหภูมิสูง การงอกจะเกิดดี เช่น บวบเหลี่ยม ถ้าให้อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 16 ชั่วโมง สลับกับอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 ชั่วโมง เมล็ดจึงจะงอกได้ดี